วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2558

คุณธรรม 12 ประการ



คุณธรรม 12 ประการ

1. มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
อย่างเช่น การที่เราร้องเพลงชาติด้วยตวามตั้งใจ นึกถึงชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์







2. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม
อย่างเช่น   การซื้อสัตย์ในการสอบ การทำงาน อดทนอดกลั้นในเรื่องต่างๆ  

3. กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์
อย่างเช่น การช่วยแบ่งเบาภาระพ่อแม่  เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ เป็นศิษย์ที่ดีของคุณครู





4. ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม
อย่างเช่น มั่นศึกษาหาความรู้ ไม่ว่าจะในห้องเรียนหรือข้างนอกก็สำคัญไม่แพ้กัน ไม่เกียจคร้าน ขยันและอดทน  ควรมีวินัยในตนเอง





5. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม
อย่างเช่น  เข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาต่างๆ   


6. มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน
อย่างเช่น ต้องไม่เป็นคนเห็นแก่ตัว แบ่งปันให้เพื่อน พี่น้อง ผู้อื่น และต้องมีศีลธรรมละเว้นความชั่ว มั่นทำความดี







7. เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง
อย่างเช่น เรียนรู้เรื่องกฎหมายไทย และรัฐธรรมนูญ และปฎิบัติตามกฎที่บ้านเมืองได้วางไว้

8. มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่
อย่างเช่น การแต่งการให้เรียนร้อยตามกฎของโรงเรียน


9. มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
อย่างเช่น       การรู้จักอดออม 
ปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

10. รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รู้จักอดออมไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น มีไว้พอกินพอใช้ ถ้าเหลือก็แจกจ่ายจำหน่าย และพร้อมที่จะขยายกิจการเมื่อมีความพร้อม เมื่อมีภูมิคุ้มกันที่ดี
อย่างเช่น การอดออมเงินที่เหลือจากค่าขนม เก็บเงินซื้อของที่อยากได้โดยไม่ขอเงินจากพ่อแม่ คิดถึงประโยชน์ของของที่กำลังจะซื้อ  

11. มีความเข้มแข็งทั้งร่างกาย และจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่อำนาจฝ่ายต่างๆ หรือกิเลส มีความละอายเกรงกลัวต่อบาปตามหลักของศาสนา
อย่างเช่น ต้องมีความเข้มแข็งทั้งใจและร่างกาย ต้องไม่ยอมง่ายๆ ต้องมีความอดทน และกลัวการกระทำผิด 


12. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม และของชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง
อย่างเช่น หากเรามีเวลาว่าง หรือเมื่มีโอกาศเราก็ควรทำประโยชน์แก่สังคม



วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2558

คลิปตัวอย่างการทำงานของมอเตอร์

    
คลิปตัวอย่างการทำงานของมอเตอร์


 ตัวอย่างคลิปส่วนประกอบและการทำงานของมอเตอร์ประเภทต่างๆ

ขขอบคุณคลิปจาก:https://www.youtube.com/watch?v=0vRtUEu_Lqg

ชนิดของมอเตอร์

    
ชนิดของมอเตอร์



               มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังกล มอเตอร์ที่ใช้งานในปัจจุบัน แต่ละชนิดก็จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างออกไป ขึ้นอยู่กับผู้ออกแบบว่าต้องการจะนำไปใช้ในลักษณะงานใด เช่นมอเตอร์ในงานอุตสาหกรรมต้องการแรงบิดมากมอเตอร์ในของเล่นต่างๆ ต้องการความเร็ว รอบหรือกำลังงานที่แตกต่างกันซึ่งมอเตอร์์แต่ละชนิด จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันมากมายแต่สามารถแบ่งตามการใช้กระแสไฟฟ้า ก็จะแบ่งได้เป็น 2 ชนิด


1. มอเตอร์กระแสตรง (DC:Direct Current Motor) หรือ ดีซี มอเตอร์
มอเตอร์ชนิดนี้ต้องการแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง ส่วนมากใช้งานกับเครื่องเล่นเด็ก อุปกรณ์ที่ใช้มอเตอร์กระแสตรง เช่น มอเตอร์ในรถจักรยานไฟฟ้า ที่ปัดน้ำฝน เป็นต้น มอเตอร์กระแสตรงยังสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด
1.1. มอเตอร์กระแสตรง (DC Motor)
เป็น มอเตอร์ที่หมุนได้ทันทีเมื่อมีการป้อนแรงดันที่เหมาะสม ทิศทางการหมุนจะขึ้นอยู่กับขั้วแรงดันที่ป้อน หากต้องการให้มอเตอร์หมุนกับทางก็เพียงแคร่กับขั้วของแหล่งจ่าย เท่านั้น มอเตอร์ก็จะเปลี่ยนทิศทางทันที มอเตอร์ชนิดนี้ทำงานเพียง 3 แบบ คือหมุนตามเข็มนาฬิกา หมุนทวนเข็มนาฬิกา และหยุดหมุน ซึ่งอัตราความเร็จที่หมุนขึ้นอยู่กับกระแสและแรงดันที่จ่ายให้มอเตอร์ ถ้าหากแรงบิดไม่เพียงพอสามารถทดรอบของการหมุนได้ มอเตอร์ต้องแรงดันไฟฟ้าในระดับต่างกัน ก่อนไปใช้ควรดูว่ามอเตอร์นี้ต้องการแรงเท่าไร
1.2. สเต็ปเปอร์มอเตอร์ (Stepper motor)
เป็นมอเตอร์ที่มีการหมุนเป็นสเต็ป สามารถกำหนดตำแหน่งการหมุนได้อย่างแม่นยำข้อดีของสเต็ปเปอร์มอเตอร์เมื่อเีทียบกับ DC มอเตอร์

1.สามารถควบตำแหน่งในการหมุนได้แม่นยำโดยอาศัยการนับจำนวนพัลล์ที่์ี่ส่งไป ควบคุมการหมุน

2.ไม่มีส่วนของแปรงถ่านที่จะสึกหรอและไม่เกิดการสปาร์คที่แปรงถ่านซึ่งอาจก่อ ให้เกิดสัญญานรบกวน

2. มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC:Alternating current Motor) หรือเอซี มอเตอร์
มอเตอร์ กระแสสลับเป็นมอเตอร์ที่ใช้กันแพร่หลายในอาคารบ้านเรือน หรือโรงงานอุตสาหกรรมเช่น เครื่องไฟฟ้าที่ต้องใช้แรงขับ จำพวกพัดลม แอร์ ตู้เย็น เครื่องดูดฝุ่น และอื่นๆ ซึ่งมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับยังสามารถแบ่งชนิดได้อีกดังนี้
2.1. มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับชนิด 1 เฟส จะใช้กับแรงดันไฟฟ้า 220 โวลต์มีสายไฟ เข้า 2 สาย มีแรงม้าไม่สูง ส่วนใหญ่ตามบ้านเรือน
2.2. มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับชนิด 3 เฟส เป็นมอเตอร์ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมต้องใช้ระบบไฟฟ้า 3 เฟส ใช้แรงดัน 380 โวลต์ มีสายไฟเข้ามอเตอร์ 3 สาย


แหล่งข้อมูล : http://www.t4rbm.ac.th/~electronichunsa/motor%20%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%86.html

สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 21/ 6/ 2558

มอเตอร์



  
    มอเตอร์
   
                  
                    

                             


                  มอเตอร์ไฟฟ้า ( electric motor) เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่แปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล

การทำงานปกติของมอเตอร์ไฟฟ้าส่วนใหญ่เกิดจากการทำงานร่วมกันระหว่างสนามแม่เหล็กของแม่เหล็กในตัวมอเตอร์ และสนามแม่เหล็กที่เกิดจากกระแสในขดลวดทำให้เกิดแรงดูดและแรงผลักของสนามแม่เหล็กทั้งสอง ในการใช้งานตัวอย่างเช่น ในอุตสาหกรรมการขนส่งใช้มอเตอร์ฉุดลาก เป็นต้น นอกจากนั้นแล้ว มอเตอร์ไฟฟ้ายังสามารถทำงานได้ถึงสองแบบ ได้แก่ การสร้างพลังงานกล และ การผลิตพลังงานไฟฟ้า(ในขณะเบรก)


มอเตอร์ไฟฟ้าถูกนำไปใช้งานที่หลากหลายเช่น พัดลมอุตสาหกรรม เครื่องเป่า ปั๊ม เครื่องมือเครื่องใช้ในครัวเรือน และดิสก์ไดรฟ์ มอเตอร์ไฟฟ้าสามารถขับเคลื่อนโดยแหล่งจ่ายไฟกระแสตรง (DC) เช่น จากแบตเตอรี่, ยานยนต์หรือวงจรเรียงกระแส หรือจากแหล่งจ่ายไฟกระแสสลับ (AC) เช่น จากไฟบ้าน อินเวอร์เตอร์ หรือ เครื่องปั่นไฟ มอเตอร์ขนาดเล็กอาจจะพบในนาฬิกาไฟฟ้า มอเตอร์ทั่วไปที่มีขนาดและคุณลักษณะมาตรฐานสูงจะให้พลังงานกลที่สะดวกสำหรับใช้ในอุตสาหกรรม มอเตอร์ไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดใช้สำหรับการใช้งานลากจูงเรือ และ การบีบอัดท่อส่งน้ำมันและปั้มป์สูบจัดเก็บน้ำมันซึ่งมีกำลังถึง 100 เมกะวัตต์ มอเตอร์ไฟฟ้าอาจจำแนกตามประเภทของแหล่งที่มาของพลังงานไฟฟ้าหรือตามโครงสร้างภายในหรือตามการใช้งานหรือตามการเคลื่อนไหวของเอาต์พุต และอื่น ๆ

อุปกรณ์   เช่น  ขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้าและลำโพงที่แปลงกระแสไฟฟ้าให้เป็นการเคลื่อนไหว แต่ไม่ได้สร้างพลังงานกลที่ใช้งานได้ จะเรียกถูกว่า actuator และ transducer ตามลำดับ คำว่ามอเตอร์ไฟฟ้านั้น ต้องใช้สร้างแรงเชิงเส้น(linear force) หรือ แรงบิด(torque) หรือเรียกอีกอย่างว่า หมุน (rotary) เท่านั้น
ภาพตัดขวางเพื่อแสดงสเตเตอร์ ของมอเตอร์เหนี่ยวนำ                       


สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 21/6/2558









วิธีทำลายเชื้อแบคทีเรียในฟองน้ำล้างจาน



                     

 วิธีทำลายเชื้อแบคทีเรียในฟองน้ำล้างจาน




                      วิธีลดหรือทำลายเชื้อแบคทีเรียในฟองน้ำล้างจานจะมีด้วยกันอยู่หลายวิธี โดยหลังจากที่เราใช้ฟองน้ำล้างทำความสะอาดภาชนะและอุปกรณ์ต่างๆ ในครัวเสร็จแล้ว สิ่งที่ต้องทำก็คือ

1. นำฟองน้ำไปล้างน้ำเปล่าให้สะอาดแล้วนำออกไปตากแดดจัด ตากทิ้งไว้อย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง วิธีนี้อาจจะไม่เห็นผลได้ 100% หากในวันที่ไม่มีแสงแดด

2. ควรหมั่นนำฟองน้ำไปต้มในน้ำเดือด เพื่อเป็นการฆ่าเชื้อ จากนั้นบีบฟองน้ำให้แห้งก่อนนำไปตากแดด

3. นำน้ำกรดน้ำส้มหรือน้ำส้มสายชู  ผสมกับน้ำเปล่าในสัดส่วนน้ำส้มสายชู 4 ช้อนโต๊ะต่อน้ำครึ่งลิตร แล้วนำฟองน้ำที่ใช้ล้างภาชนะในแต่ละวันไปแช่ทิ้งไว้ค้างคืน แล้วทำอย่างนี้ทุกวันแต่ควรเปลี่ยนน้ำส้มสายชูทุกครั้งก่อนการแช่ วิธีนี้ภาวะที่มีความเป็นกรดนั้นจะช่วยไปลดปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ให้อยู่ใน ระดับปลอดภัยแก่การบริโภคได้

               เมื่อเราทราบวิธีทำลายเชื้อแบคทีเรียในฟองน้ำล้างจานกันแล้ว แต่ทางที่ดีเราควรจัดสภาพของห้องครัวให้โปร่งอากาศถ่ายเท แลมีแสงลอดผ่านเข้ามาได้ และที่สำคัญควรแยกฟองน้ำสำหรับการใช้งานที่ต่างกัน เช่น ฟองน้ำล้างจาน ควรเป็นคนละแผ่นกับฟองน้ำเช็ดเคาน์เตอร์หรือตัวเตา และเมื่อสกปรกมากควรเปลี่ยนทันทีอย่าปล่อยทิ้งไว้จนเกิดเชื้อรา



สืบค้นข้อมูล เมื่อวันที่ 21 / 6 / 2558