วันศุกร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2557

พื้นฐานความรู้ภาษาซี

พื้นฐานความรู้ภาษาซี

โครงสร้างของโปรมแกรมภาซี
ข้อความสั่งตัวประมวลผลก่อน (Preprocessor statements)
ข้อความสั่งตัวประมวลผลก่อนขึ้นต้นด้วยเครื่องหมาย # เช่น
#include <stdio.h>
หมายความว่า ให้ตัวประมวลผลก่อนไปอ่านข้อมูลจากแฟ้ม stdio.hซึ่งเป็นแฟ้มที่มีอยู่ในคลัง เมื่อโปรแกรมมีการใช้ข้อความสั่งอ่านและบันทึก จะต้องใช้ข้อมูลจากแฟ้ม stdio.hข้อความสั่งตัวประมวลผลก่อนจะต้องเขียนไว้ตอนต้นของโปรแกรม

โครงสร้างพื้นฐานของโปรแกรมภาษาซีจะต้องประกอบด้วยโปรแกรมย่อย หรือเรียกว่า
ฟังก์ชัน (function) อย่างน้อย 1 ฟังก์ชัน คือ main() ซึ่งมีรูปแบบดังนี้
ฟังก์ชัน main() ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ
1.ส่วนหัวของฟังก์ชัน
2.ส่วนการประกาศตัวแปร
3.ส่วนคำสั่ง
ข้อความสั่งหมายเหตุ (Comment Statement)
ข้อความสั่งหมายเหตุ คือ ข้อความที่เขียนไว้ภายในโปรแกรม เพื่อใช้อธิบายโปรแกรม
โดยตัวแปลโปรแกรมจะไม่แปลข้อความสั่งหมายเหจุให้เป็นภาษาเครื่อง
การเขียนข้อความสั่งหมายเหตุในโปรแกรมทำได้ 2 แบบ ได้แก่
1.// หมายเหตุ  ใช้เครื่องหมาย // หน้าข้อความหมายเหตุ ใช้ได้กับหมายเหตุที่มีขนาดยาวไม่เกิน 1 บรรทัด
2./*หมายเหตุ*/ เขียนหมายเหตุไว้ระหว่าง /* และ */ ใช้ได้กับหมายเหตุที่มีขนาดความยาวตั้งแต่ 1 บรรทัดขึ้นไป
ตัวแปร

ตัวแปร (Variable) คือ การจองพื้นที่ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์สำหรับเก็บข้อมูลที่ต้องใช้ในการทำงานของโปรแกรม  โดยมีการตั้งชื่อเรียกหน่วยความจำในตำแหน่งนั้นด้วย  เพื่อความสะดวกในการเรียกใช้ข้อมูล  ถ้าจะใช้ข้อมูลใดก็ให้เรียกผ่านชื่อของตัวแปรที่เก็บเอาไว้ สำหรับภาษา C ตามมาตรฐาน ASNI (American National Standards Institute) มีตัวแปรไว้ให้ใช้งานอยู่หลายชนิด แต่ละชนิดจะใช้สำหรับเก็บข้อมูลต่างประเภทกันไป

รูปแบบการประกาศตัวแปรในภาษา



หลักการตั้งชื่อตัวแปรในภาษา C

1. ต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษร A-Z หรือ a-z หรือเครื่องหมาย _(Underscore) เท่านั้น 
2. ภายในชื่อตัวแปรสามารถใช้ตัวอักษร A-Z หรือ a-z หรือตัวเลข0-9 หรือเครื่องหมาย _
3. ภายในชื่อห้ามเว้นช่องว่าง หรือใช้สัญลักษณ์นอกเหนือจากข้อ
4. ตัวอักษรเลขหรือใหญ่มีความหมายแตกต่างกัน
5. ห้ามตั้งชื่อซ้ำกับคำสงวน (Reserved Word) ดังนี้


ตัวคงที่ (Constant)
ตัวคงที่มีลักษณะคล้ายตัวแปร แตกต่างจากตัวแปรตรงที่ ค่าที่เก็บในตัวคงที่จะคงเดิมไม่มีวันเปลี่ยนแปลงจนกระทั่งจบโปรแกรม แต่ค่าที่เก็บตัวแปรสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา

แสดงผลออกทางหน้าจอ
การทำงานพื้นฐานที่สุดหรือเรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งในการทำงานของทุกโปรแกรมก็คือการแสดงผลข้อมูลออกทางหน้าจอ โดยในภาษา C นั้น การแสดงผลข้อมูลออกทางหน้าจอสามารถทำได้ง่าย โดยเรียกใช้คำสั่งหรือฟังก์ชั่นมาตรฐานที่ภาษา C เตรียมไว้ซึ่งมีอยู่หลายคำสั่งเป็นฟังก์ชันจากคลัง ที่มาพร้อมกับตัวแปลภาษาซี ใช้สำหรับการแสดงผล มีรูปแบบ ดังนี้




การควบคุมขนาดพื้นที่แสดงผล
วิธีกำหนดขนาดพื้นที่การแสดงผล ให้ใส่ตัวเลขขนาดของพื้นที่ที่ต้องการไว้หลังเครื่องหมาย % ในรหัสควบคุมรูปแบบ  ตัวอย่างเช่น





 การควบคุมขนาดพื้นที่แสดงผล





การแสดงผลตัวเลขทศนิยม ตามปกติถ้าไม่กำหนดค่าใดๆ เพิ่มเติม เมื่อใช้รหัสควบคุมรูปแบบ %f โปรแกรมจะแสดงตัวเลขทศนิยมทั้งหมด 6 ตำแหน่ง ตัวอย่างเช่น



ในกรณีที่เราต้องการตัดให้แสดงตัวเลขหลังจุดทศนิยมเท่าที่จำเป็น ก็สามารถกำหนดค่าเพิ่มไปกับรหัสควบคุมรูปแบบได้
รับข้อมูลจากคีย์บอร์ด

การทำงานของโปรแกรมส่วนใหญ่มักจะเป็นการเชื่อมโยงกับผู้ใช้แบบ 2 ทิศทาง คือ ทั้งภาคของการแสดงผลการทำงานออกทางหน้าจอ และภาคของการรับข้อมูลจากผู้ใช้เข้ามาทางคีย์บอร์ด เพื่อร่วมในการประมวลผลของโปรแกรม ซึ่งในภาคของการรับข้อมูลจากผู้ใช้ ภาษา กำหนดคำสั่งและฟังก์ชั่นมาตรฐานเอาไว้ให้เรียกใช้
ฟังก์ชัน scanf()
เป็นฟังก์ชันจากคลัง ใช้ในการรับข้อมูลจากแป้นพิมพ์ โดยจะบอกเลขที่อยู่ของตัวแปรในหน่วยความจำ แล้วจึงนำค่าที่รับมาไปเก็บไว้ตามที่อยู่นั้น มีรูปแบบ 

นิพจน์ (Expressions)
ในภาษาซี นิพจน์หมายถึง สิ่งที่ประมวลผลแล้วสามารถให้เป็นค่าตัวเลขได้ ซึ่งแต่ละนิพจน์จะมีระดับความยากง่ายในการประมวลผลที่แตกต่างกัน 
นิพจน์ที่เป็นค่าคงที่ ที่เป็นสัญลักษณ์
#define VAT 7
#define PI 3.14159
constint a = 35;
const char ch = ‘m’;
นิพจน์ที่มีลักษณะเป็นตัวแปร
int count;
float amount;
charch;



นิพจน์ หมายถึง จำนวนใดจำนวนหนึ่งต่อไปนี้



ข้อความสั่งกำหนดค่า (assignment statement)
ตัวแปร = นิพจน์
ข้อความสั่งกำหนดค่า คือข้อความสั่งที่ใช้สำหรับ สั่งให้นำผลลัพธ์ของนิพจน์ที่อยู่ด้านขวาของตัวดำเนินการเท่ากับ (=)  มาเก็บไว้ในตัวแปรที่อยู่ด้านซ้ายของตัวดำเนินการเท่ากับ (=) 

 การคำนวณทางคณิตศาสตร์
เครื่องหมายการดำเนินการทางคณิตศาสตร์
ลำดับความสำคัญของเครื่องหมาย


ลิงค์สำหรับดาวน์โหลดโปรแกรมภาษาซี

ภาษาคอมพิวเตอร์

ภาษาคอมพิวเตอร์

ภาษาคอมพิวเตอร์ หมายถึง ภาษาใดๆ ที่ผู้ใช้งานใช้สื่อสารกับคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ด้วยกัน แล้วคอมพิวเตอร์สามารถทำงานตามคำสั่งนั้นได้ คำนี้มักใช้เรียกแทนภาษาโปรแกรม แต่ความเป็นจริงภาษาโปรแกรมคือส่วนหนึ่งของภาษาคอมพิวเตอร์เท่านั้น และมีภาษาอื่นๆ ที่เป็นภาษาคอมพิวเตอร์เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น HTML เป็นทั้งภาษามาร์กอัปและภาษาคอมพิวเตอร์ด้วย แม้ว่ามันจะไม่ใช่ภาษาโปรแกรม หรือภาษาเครื่องนั้นก็นับเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ ซึ่งโดยทางเทคนิคสามารถใช้ในการเขียนโปรแกรมได้ แต่ก็ไม่จัดว่าเป็นภาษาโปรแกรม
ภาษาคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือ ภาษาระดับสูง (high level) และภาษาระดับต่ำ (low level) ภาษาระดับสูงถูกออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานง่ายและสะดวกสบายมากกว่าภาษาระดับต่ำ โปรแกรมที่เขียนถูกต้องตามกฎเกณฑ์และไวยากรณ์ของภาษาจะถูกแปล (compile) ไปเป็นภาษาระดับต่ำเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถนำไปใช้งานหรือปฏิบัติตามคำสั่งได้ต่อไป ซอฟต์แวร์สมัยใหม่ส่วนมากเขียนด้วยภาษาระดับสูง แปลไปเป็นออบเจกต์โค้ด (object code) แล้วเปลี่ยนให้เป็นชุดคำสั่งในภาษาเครื่อง


โปรแกรมภาษาระดับสูง High Level Languages
หน่วยสำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ก็คือ หน่วยประมวลผลหรือที่เรียกกันว่า CPU โดยปกติ CPU จะมีภาษาของตัวเองที่เรียกว่า ภาษาเครื่อง (Machine Language) ซึ่งจะเป็นภาษาที่ประกอบไปด้วยเลขฐานสองมากมาย ดังนั้นการที่จะเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ โดยใช้ภาษาเครื่องโดยตรงนั้นจึงทำได้ยาก จึงได้มีการพัฒนาตัวแปรภาษาเครื่องที่เรียกว่า โปรแกรมภาษาระดับสูงขึ้นมา หรือที่เรียกว่า High Level Languages โดยภาษาในระดับสูงเหล่านี้ จะมีลักษณะรูปแบบการเขียน (Syntax) ที่ทำให้เข้าใจได้ง่ายต่อการสื่อสารกับผู้พัฒนา และถูกออกแบบมาให้ง่ายต่อการใช้งาน และจะเปลี่ยนคำสั่งจากผู้ใช้งาน ไปเป็นเป็นภาษาเครื่อง เพื่อที่จะควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ต่อไป
ความแตกต่างระหว่าง Compiler และ Interpreter
Compiler
จะทำการแปลง Source Codes ไปเป็น Machine Codes ครั้งเดียว แล้วค่อย Execute คำสั่ง
ถ้าหากมีการแก้ไข Source Codes จะต้องมีการ Compile Source ใหม่อีกครั้ง
Intepreter
จะทำการแปลง Source Codes ทีละบรรทัด และก็ทำการ Execute ทีละบรรทัด



ภาษาซี คือ อะไรรรร

ภาษาซี คืออะไร

ภาษาซี (C) เป็นภาษาโปรแกรมสำหรับวัตถุประสงค์ทั่วไป เริ่มพัฒนาขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2512-2516 (ค.ศ. 1969-1973) โดยเดนนิส ริชชี่ (Denis Retchie) ที่เอทีแอนด์ทีเบลล์แล็บส์ (AT&T Bell Labs) [4][5] ภาษาซีมีเครื่องมืออำนวยความสะดวกสำหรับการเขียนโปรแกรมเชิงโครงสร้างและอนุญาตให้มีขอบข่ายตัวแปร (scope) และการเรียกซ้ำ (recursion) ในขณะที่ระบบชนิดตัวแปรอพลวัตก็ช่วยป้องกันการดำเนินการที่ไม่ตั้งใจหลายอย่าง เหมือนกับภาษาโปรแกรมเชิงคำสั่งส่วนใหญ่ในแบบแผนของภาษาอัลกอล การออกแบบของภาษาซีมีคอนสตรักต์ (construct) ที่โยงกับชุดคำสั่งเครื่องทั่วไปได้อย่างพอเพียง จึงทำให้ยังมีการใช้ในโปรแกรมประยุกต์ซึ่งแต่ก่อนลงรหัสเป็นภาษาแอสเซมบลี คือซอฟต์แวร์ระบบอันโดดเด่นอย่างระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ยูนิกซ์

ภาษาซีเป็นภาษาโปรแกรมหนึ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดตลอดกาล  และตัวแปลโปรแกรมของภาษาซีมีให้ใช้งานได้สำหรับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการต่าง ๆ เป็นส่วนมาก

ภาษาหลายภาษาในยุคหลังได้หยิบยืมภาษาซีไปใช้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ตัวอย่างเช่น ภาษาดี ภาษาโก ภาษารัสต์ ภาษาจาวา จาวาสคริปต์ ภาษาลิมโบ ภาษาแอลพีซี ภาษาซีชาร์ป ภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซี ภาษาเพิร์ล ภาษาพีเอชพี ภาษาไพทอน ภาษาเวอริล็อก (ภาษาพรรณนาฮาร์ดแวร์)  และซีเชลล์ของยูนิกซ์ ภาษาเหล่านี้ได้ดึงโครงสร้างการควบคุมและคุณลักษณะพื้นฐานอื่น ๆ มาจากภาษาซี ส่วนใหญ่มีวากยสัมพันธ์คล้ายคลึงกับภาษาซีเป็นอย่างมากโดยรวม (ยกเว้นภาษาไพทอนที่ต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง) และตั้งใจที่จะผสานนิพจน์และข้อความสั่งที่จำแนกได้ของวากยสัมพันธ์ของภาษาซี ด้วยระบบชนิดตัวแปร ตัวแบบข้อมูล และอรรถศาสตร์ที่อาจแตกต่างกันโดยมูลฐาน ภาษาซีพลัสพลัสและภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซีเดิมเกิดขึ้นในฐานะตัวแปลโปรแกรมที่สร้างรหัสภาษาซี ปัจจุบันภาษาซีพลัสพลัสแทบจะเป็นเซตใหญ่ของภาษาซี  ในขณะที่ภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซีก็เป็นเซตใหญ่อันเคร่งครัดของภาษาซี

ก่อนที่จะมีมาตรฐานภาษาซีอย่างเป็นทางการ ผู้ใช้และผู้พัฒนาต่างก็เชื่อถือในข้อกำหนดอย่างไม่เป็นทางการในหนังสือที่เขียนโดยเดนนิส ริตชี และไบรอัน เคอร์นิกัน (Brian Kernighan) ภาษาซีรุ่นนั้นจึงเรียกกันโดยทั่วไปว่า ภาษาเคแอนด์อาร์ซี (K&R C) ต่อมา พ.ศ. 2532 สถาบันมาตรฐานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (ANSI) ได้ตีพิมพ์มาตรฐานสำหรับภาษาซีขึ้นมา เรียกกันว่า ภาษาแอนซีซี (ANSI C) หรือ ภาษาซี89 (C89) ในปีถัดมา องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) ได้อนุมัติให้ข้อกำหนดเดียวกันนี้เป็นมาตรฐานสากล เรียกกันว่า ภาษาซี90 (C90) ในเวลาต่อมาอีก องค์การฯ ก็ได้เผยแพร่ส่วนขยายมาตรฐานเพื่อรองรับสากลวิวัตน์ (internationalization) เมื่อ พ.ศ. 2538 และมาตรฐานที่ตรวจชำระใหม่เมื่อ พ.ศ. 2542 เรียกกันว่า ภาษาซี99 (C99) มาตรฐานรุ่นปัจจุบันก็ได้รับอนุมัติเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 เรียกกันว่า ภาษาซี11 (C11) 

วันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ข้อดี-ข้อเสียของคอมพิวเตอร์

ข้อดี-ข้อเสียของคอมพิวเตอร์





ข้อดี มีดังนี้
1. ความเร็วสูง
2.ความถูกต้องแม่นยำและน่าเชื่อถือ
3. ความสามารถในการจำหรือรักษา
4. การประหยัด
5. การใช้งานได้อีกหลายๆด้าน

ข้อเสียของคอมพิวเตอร์
  • ทำให้ความสัมพันธ์ของมนุษย์เสื่อมลง
  • ทำให้เกิดความขัดแย้ง
  • ทำให้เกิดความเสี่ยงในด้านข้อมูล

  • ทำให้เกิดการแพร่วัฒนธรรมอันไม่พึงประสงค์

คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวัน

คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวัน



คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวัน

ประมาณปี พ.ศ. 2500 คอมพิวเตอร์มีอยู่ในโลกนี้ไม่มากนัก ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องในระบบเมนเฟรม ซึ่งมีขนาดใหญ่และราคาแพง ส่วนมากจะใช้งานทางด้านวิทยาศาสตร์เท่านั้น ซึ่งจะไม่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันมากนัก แต่ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้มีขนาดเล็กลง และ ราคาก็ไม่แพงนัก คนทั่วไปสามารถซื้อหามาใช้ได้เหมือนกับเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยทั่วไป
ในหน่วยงานทั้งภาครัฐบาลและเอกชน ก็มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในหน่วยงานขึ้น และมีแนวโน้มที่จะมีการใช้สูงขึ้น เหตุผลที่มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในชีวิตประจำวันเพิ่มมากขึ้น คือ
1 . คอมพิวเตอร์สามารถจัดเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก เช่น เก็บข้อมูลงานทะเบียนราษฏฐ์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยซึ่งสามารถตรวจสอบประ วัติของบุคคลต่างๆได้ เป็นต้น
2 . คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้รวดเร็ว งานบางอย่างคอมพิวเตอร์จะทำได้ในพริบตาในขณะที่ถ้าให้คนทำอาจจะต้องใช้เวลานา น
3 . คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้โดยไม่ต้องหยุดพัก คือทำงานได้ตลอดเวลา ในขณะที่ยังต้องมีไฟฟ้าอยู่
4 . คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ ถ้ามีการกำหนดโปรแกรมทำงานที่ถูกต้อง จะไม่มีการทำงานผิดพลาดขึ้นมา
5 .คอมพิวเตอร์สามารถทำงานแบบคนได้ในสภาพแวดล้อมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกาย เช่น ที่มีก๊าซพิษ กัมมันตภาพรังสี หรือในงานที่มีความเสี่ยงสูงในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานต่างๆ เช่น

1 . บทบาทของคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา
ปัจจุบันตามสถานศึกษาต่างๆ ได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอนอย่างมากมาย รวมทั้งใช้คอมพิวเตอร์ในงานบริหารของโรงเรียน เช่น การจัดทำประวัตินักเรียน ประวัติครูอาจารย์ การคัดคะแนนสอบ การจัดทำตารางสอน ใช้คอมพิวเตอร์ ในงานห้องสมุด การจัดทำตารางสอ น เป็นต้น
ตัวอย่างในการประยุกต์ด้านการศึกษา เช่น โปรแกรมรายงานการลงทะเบียนเรียน โปรแกรมตรวจข้อสอบ เป็นต้น


2 . บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานวิศวกรรม
คอมพิวเตอร์สามารถจะทำงานในด้านวิศวกรรมได้ตั้งแต่ขั้นตอนการลอกเขียนแบบ จนกระทั่งถึงการออกแบบโครงสร้างของสถาปัตยกรรมต่างๆ ต ลอดจน ช่วยคำนวณโครงสร้าง ช่วยในการวางแผน และควบคุมการสร้าง
3 . บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานวิทยาศาสตร์
คอมพิวเตอร์สามารถทำงานร่วมกับเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ เช่น เครื่องมือวิเคราะห์สารเคมี เครื่องมือการทดลองต่างๆ แม้กระทั่งการเดินทางของยานอวกาศต่างๆ การถ่ายพื้นผิวโลกบนดาวอังคาร เป็นต้น

4 . บทบาทคอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ
คอมพิวเตอร์สามารถจัดเก็บข้อมูลได้มากมาย มีความรวดเร็ว และถูกต้อง ทำให้สามารถได้ข้อมูลที่ช่วยให้สามารถตัดสินใจในการ ดำเนินธุรกิจ ตลอดจนงานทางด้านเอกสารงานพิมพ์ต่างๆ เป็นต้น

5 . บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานธนาคาร
ในแวดวงธนาคารนับได้ว่าคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทมากที่สุด เพราะธนาคารจะมีการนำข้อมูล เป็นประจะทุกวัน การหาอัตราดอกเบี้ยต่างๆ นอกจากนี้การใช้บริการ ATM ซึ่งลูกค้าสามารถฝากถอนเงินได้จากเครื่องอัตโนมัติ ซึ่งมำให้สะดวกแก่ผู้ใช้บริการเป็นอย่างยิ่ง และเป็นที่นิยมแพร่หลายในปัจจุบัน

6 . บทบาทของคอมพิวเตอร์ในร้านค้าปลีก ปัจจุบันเห็นได้ว่า ได้มีธุรกิจร้านค้าปลีกหรือที่เรียกว่า " เฟรนไซน์" เป็นจำนวนมาก ได้มีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการ ให้บริการลูกค้า เช่น ให้บริการชำระ ค่าน้ำ - ไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ เป็นต้น จะเห็นได้ว่ามีการ online ระหว่างร้านค้าเหล่านั้นกับหน่วยงานนั้นๆ เพื่อสามารถตัดยอดบัญชีได้ เป็นต้น
เคาน์เตอร์

7 . บทบาทคอมพิวเตอร์ในวงการแพทย์ คอมพิวเตอร์ได้ถูกนำมาใช้ในการเก็บประวัติของคนไข้ ควบคุมการรับ และจ่ายยา ตลอดจนยังอยู่ในอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ เช่น เครื่องมือผ่าตัด บันทึกการเต้นของหัวใจ ตรวจคลื่นสมอง และด้านการหาตำแหน่งของอวัยวะก่อนการผ่าตัด เป็นต้น

8 . บทบาทของคอมพิวเตอร์ในการคมนาคม และการสื่อสาร
คอมพิวเตอร์
ในยุคปัจจุบัน เราเรียกว่าเป็นยุคที่เป็นการสื่อสารแบบไร้พรมแดน จะเห็นได้ว่ามีการสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ ในเคร ือข่ายสาธาระณะที่เรียกว่า เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งสามารถที่จะสื่อสารกับทุกคนได้ทั่วมุมโลก โดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์นี้ และยังมีโปรแกรมที่สามารถจะใช้ในการพูดคุยกันได้ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกันใช้คุยกัน หรือจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์สื่อสารกับเครื่องโทรศัพท์ที่บ ้านหรือที่ทำงาน หรือแม้กระทั่งการส่ง pager ในปัจจุบันสามารถส่งทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่องลูกได้ เป็นต้น
สำหรับการใช้คอมพิวเตอร์ในทางโทรคมนาคมจะเห็นว่าปัจจุบันการจองตั๋วเครื่องบินจะมีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นจำนวนมาก รวมถึงการจองตั๋วผ่านทาง Internet ด้วยตนเอง เห็นได้ว่าเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ผู้ใช้บริการ และนอกจากนี้ ยังมีเครือข่ายของสายการบินทั่วโลก ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถเลือกจองได้ตามสายการบินต่างๆ เป็นต้น


9 . บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานด้านอุตสาหกรรม
ในวงการอุตสาหกรรมนับได้ว่าคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมาก ตั้งแต่การวางแผนการผลิต กำหนดเวลาการผลิต จนกระทั่งถึงการผลิตสินค้า ควบคุมระบบ การผลิตทั้งหมด
ในรายงานทางอุตสาหกรรมได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการควบคุมการ ทำงานของเครื่องจักร เช่น การเจาะ ตัด ไส กลึง เป็นต้น ตลอดจนโรงงานผลิตรถยนต์ ก็จะใช้ หุ่นยนต์คอมพิวเตอร์ในการทาสี พ่นสี รวมถึงการประกอบนรถยนต์ เป็นต้น

10 . บทบาทของคอมพิวเตอร์ในวงราชการ
คอมพิวเตอร์ถูกนำมาใช้ในงานทะเบียนราษฏร์ ช่วยในการนับคะแนนการ เลือกตั้ง และการประกาศผลเลือกตั้ง การคิดภาษีอากร การเก็บข้อมูล สถิติสัมมโนประชากร การเก็บเงินค่าไฟฟ้า น้ำประปา ค่าใช้โทรศัพท์ เป็นต้น





คอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบัน

คอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบัน



คอมพิวเตอร์ยุคใหม่ การใช้คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีแนวโน้มที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ
และนำมาใช้กับงานที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น จากที่แต่เดิมบางหน่วยงานเอาคอมพิวเตอร์เพื่อมาช่วยสำหรับงาน
ประมวลผลเล็ก ๆ เท่านั้น เช่น งานการจัดพิมพ์เอกสารหรืองานสำนักงาน ซึ่งยังไม่ค่อยสนับสนุนในเรื่องของ
การเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายมากนัก แต่ปัจจุบันได้พัฒนาให้สามารถเชื่อมโยงกันได้อย่างทั่วถึง
เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจึงสามารถโอนถ่ายข้อมูลถึงกันได้อย่างรวดเร็วภายใต้ระบบสื่อสารที่ดีขึ้น
โดยเฉพาะบทบาทของเทคโนโลยีทางด้านอินเทอร์เน็ตที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบันที่ทำให้
การติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ต่างที่กัน สามารถทำได้อย่างง่ายดาย


                                                 
               



                                                 
               
คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีรูปลักษณ์น่าใช้ขึ้นกว่าแต่ก่อนการออกแบบตัวเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ๆ
ก็ได้มีการปรับปรุงขนาดให้เล็กลงและมีรูปลักษณ์ที่แปลกตามากยิ่งขึ้น บางเครื่องมีการออกแบบที่เน้นให้รูป
ลักษณ์ภายนอกสามารถเป็นเครื่องประดับหรือเฟอร์นิเจอร์ของห้องทำงานได้อีกด้วย นอกจากนั้นยังรองรับ
การเชื่อมต่อของอุปกรณ์สมัยใหม่ เช่น กล้องดิจิตอล โทรศัพท์มือถือ รวมถึงสื่อเก็บบันทึกข้อมูลแบบพกพา
ที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้งานไว้อย่างพร้อมสรรพ รูปลักษณ์ของไมโครคอมพิวเตอร์ทั่ว ๆ ไป
รวมถึงคอมพิวเตอร์มือถือที่เราอาจพบเห็นหรือหามาใช้งานได้ พอจำแนกออกได้เป็นหลายกลุ่ม
ดังนี้
เดสก์ท็อป (Desktop)

โน๊ตบุ๊ค ( Note Book)

เดสก์โน๊ต ( Desknote)

แท็บเล็ตพีซี ( Tablet PC)

พีดีเอ ( PDA – Personal Digital Assistants)

สมาร์ทโฟน ( Smart Phone)

                                                                          ที่มา: http://www.suwanpaiboon.ac.th/wbi/page/page8_2.htm