พื้นฐานความรู้ภาษาซี
โครงสร้างของโปรมแกรมภาซี
ข้อความสั่งตัวประมวลผลก่อน (Preprocessor
statements)
ข้อความสั่งตัวประมวลผลก่อนขึ้นต้นด้วยเครื่องหมาย
# เช่น
#include <stdio.h>
หมายความว่า
ให้ตัวประมวลผลก่อนไปอ่านข้อมูลจากแฟ้ม stdio.hซึ่งเป็นแฟ้มที่มีอยู่ในคลัง
เมื่อโปรแกรมมีการใช้ข้อความสั่งอ่านและบันทึก จะต้องใช้ข้อมูลจากแฟ้ม stdio.hข้อความสั่งตัวประมวลผลก่อนจะต้องเขียนไว้ตอนต้นของโปรแกรม
โครงสร้างพื้นฐานของโปรแกรมภาษาซีจะต้องประกอบด้วยโปรแกรมย่อย หรือเรียกว่า
ฟังก์ชัน (function) อย่างน้อย
1 ฟังก์ชัน คือ main() ซึ่งมีรูปแบบดังนี้
ฟังก์ชัน main() ประกอบด้วย
3 ส่วนหลัก คือ
1.ส่วนหัวของฟังก์ชัน
2.ส่วนการประกาศตัวแปร
3.ส่วนคำสั่ง
ข้อความสั่งหมายเหตุ (Comment
Statement)
ข้อความสั่งหมายเหตุ คือ
ข้อความที่เขียนไว้ภายในโปรแกรม เพื่อใช้อธิบายโปรแกรม
โดยตัวแปลโปรแกรมจะไม่แปลข้อความสั่งหมายเหจุให้เป็นภาษาเครื่อง
การเขียนข้อความสั่งหมายเหตุในโปรแกรมทำได้ 2
แบบ ได้แก่
1.// หมายเหตุ
ใช้เครื่องหมาย // หน้าข้อความหมายเหตุ
ใช้ได้กับหมายเหตุที่มีขนาดยาวไม่เกิน 1 บรรทัด
2./*หมายเหตุ*/ เขียนหมายเหตุไว้ระหว่าง /* และ */
ใช้ได้กับหมายเหตุที่มีขนาดความยาวตั้งแต่ 1 บรรทัดขึ้นไป
ตัวแปร
ตัวแปร (Variable) คือ
การจองพื้นที่ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์สำหรับเก็บข้อมูลที่ต้องใช้ในการทำงานของโปรแกรม
โดยมีการตั้งชื่อเรียกหน่วยความจำในตำแหน่งนั้นด้วย เพื่อความสะดวกในการเรียกใช้ข้อมูล
ถ้าจะใช้ข้อมูลใดก็ให้เรียกผ่านชื่อของตัวแปรที่เก็บเอาไว้
สำหรับภาษา C ตามมาตรฐาน ASNI (American National
Standards Institute) มีตัวแปรไว้ให้ใช้งานอยู่หลายชนิด
แต่ละชนิดจะใช้สำหรับเก็บข้อมูลต่างประเภทกันไป
รูปแบบการประกาศตัวแปรในภาษา C
หลักการตั้งชื่อตัวแปรในภาษา C
1. ต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษร A-Z หรือ
a-z หรือเครื่องหมาย _(Underscore) เท่านั้น
2. ภายในชื่อตัวแปรสามารถใช้ตัวอักษร A-Z หรือ
a-z หรือตัวเลข0-9
หรือเครื่องหมาย _
3. ภายในชื่อห้ามเว้นช่องว่าง
หรือใช้สัญลักษณ์นอกเหนือจากข้อ 2
4. ตัวอักษรเลขหรือใหญ่มีความหมายแตกต่างกัน
5. ห้ามตั้งชื่อซ้ำกับคำสงวน (Reserved
Word) ดังนี้
ตัวคงที่ (Constant)
ตัวคงที่มีลักษณะคล้ายตัวแปร
แตกต่างจากตัวแปรตรงที่
ค่าที่เก็บในตัวคงที่จะคงเดิมไม่มีวันเปลี่ยนแปลงจนกระทั่งจบโปรแกรม
แต่ค่าที่เก็บตัวแปรสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
แสดงผลออกทางหน้าจอ
การทำงานพื้นฐานที่สุดหรือเรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งในการทำงานของทุกโปรแกรมก็คือการแสดงผลข้อมูลออกทางหน้าจอ
โดยในภาษา C นั้น
การแสดงผลข้อมูลออกทางหน้าจอสามารถทำได้ง่าย
โดยเรียกใช้คำสั่งหรือฟังก์ชั่นมาตรฐานที่ภาษา C เตรียมไว้ซึ่งมีอยู่หลายคำสั่งเป็นฟังก์ชันจากคลัง ที่มาพร้อมกับตัวแปลภาษาซี ใช้สำหรับการแสดงผล มีรูปแบบ
ดังนี้
การควบคุมขนาดพื้นที่แสดงผล
วิธีกำหนดขนาดพื้นที่การแสดงผล
ให้ใส่ตัวเลขขนาดของพื้นที่ที่ต้องการไว้หลังเครื่องหมาย %
ในรหัสควบคุมรูปแบบ ตัวอย่างเช่น
การแสดงผลตัวเลขทศนิยม ตามปกติถ้าไม่กำหนดค่าใดๆ เพิ่มเติม เมื่อใช้รหัสควบคุมรูปแบบ %f โปรแกรมจะแสดงตัวเลขทศนิยมทั้งหมด 6 ตำแหน่ง ตัวอย่างเช่น
ในกรณีที่เราต้องการตัดให้แสดงตัวเลขหลังจุดทศนิยมเท่าที่จำเป็น
ก็สามารถกำหนดค่าเพิ่มไปกับรหัสควบคุมรูปแบบได้
รับข้อมูลจากคีย์บอร์ด
การทำงานของโปรแกรมส่วนใหญ่มักจะเป็นการเชื่อมโยงกับผู้ใช้แบบ
2 ทิศทาง คือ
ทั้งภาคของการแสดงผลการทำงานออกทางหน้าจอ
และภาคของการรับข้อมูลจากผู้ใช้เข้ามาทางคีย์บอร์ด
เพื่อร่วมในการประมวลผลของโปรแกรม ซึ่งในภาคของการรับข้อมูลจากผู้ใช้ ภาษา C กำหนดคำสั่งและฟังก์ชั่นมาตรฐานเอาไว้ให้เรียกใช้
ฟังก์ชัน scanf()
เป็นฟังก์ชันจากคลัง
ใช้ในการรับข้อมูลจากแป้นพิมพ์ โดยจะบอกเลขที่อยู่ของตัวแปรในหน่วยความจำ
แล้วจึงนำค่าที่รับมาไปเก็บไว้ตามที่อยู่นั้น มีรูปแบบ
นิพจน์ (Expressions)
ในภาษาซี นิพจน์หมายถึง
สิ่งที่ประมวลผลแล้วสามารถให้เป็นค่าตัวเลขได้
ซึ่งแต่ละนิพจน์จะมีระดับความยากง่ายในการประมวลผลที่แตกต่างกัน
นิพจน์ที่เป็นค่าคงที่ ที่เป็นสัญลักษณ์
#define VAT 7
#define PI 3.14159
constint a = 35;
const char ch = ‘m’;
นิพจน์ที่มีลักษณะเป็นตัวแปร
int count;
float amount;
charch;
นิพจน์ หมายถึง จำนวนใดจำนวนหนึ่งต่อไปนี้
ข้อความสั่งกำหนดค่า (assignment
statement)
ตัวแปร = นิพจน์
ข้อความสั่งกำหนดค่า คือข้อความสั่งที่ใช้สำหรับ
สั่งให้นำผลลัพธ์ของนิพจน์ที่อยู่ด้านขวาของตัวดำเนินการเท่ากับ (=)
มาเก็บไว้ในตัวแปรที่อยู่ด้านซ้ายของตัวดำเนินการเท่ากับ (=)
เครื่องหมายการดำเนินการทางคณิตศาสตร์
ลำดับความสำคัญของเครื่องหมาย
ลิงค์สำหรับดาวน์โหลดโปรแกรมภาษาซี