วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2558

คลิปตัวอย่างการทำงานของมอเตอร์

    
คลิปตัวอย่างการทำงานของมอเตอร์


 ตัวอย่างคลิปส่วนประกอบและการทำงานของมอเตอร์ประเภทต่างๆ

ขขอบคุณคลิปจาก:https://www.youtube.com/watch?v=0vRtUEu_Lqg

ชนิดของมอเตอร์

    
ชนิดของมอเตอร์



               มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังกล มอเตอร์ที่ใช้งานในปัจจุบัน แต่ละชนิดก็จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างออกไป ขึ้นอยู่กับผู้ออกแบบว่าต้องการจะนำไปใช้ในลักษณะงานใด เช่นมอเตอร์ในงานอุตสาหกรรมต้องการแรงบิดมากมอเตอร์ในของเล่นต่างๆ ต้องการความเร็ว รอบหรือกำลังงานที่แตกต่างกันซึ่งมอเตอร์์แต่ละชนิด จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันมากมายแต่สามารถแบ่งตามการใช้กระแสไฟฟ้า ก็จะแบ่งได้เป็น 2 ชนิด


1. มอเตอร์กระแสตรง (DC:Direct Current Motor) หรือ ดีซี มอเตอร์
มอเตอร์ชนิดนี้ต้องการแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง ส่วนมากใช้งานกับเครื่องเล่นเด็ก อุปกรณ์ที่ใช้มอเตอร์กระแสตรง เช่น มอเตอร์ในรถจักรยานไฟฟ้า ที่ปัดน้ำฝน เป็นต้น มอเตอร์กระแสตรงยังสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด
1.1. มอเตอร์กระแสตรง (DC Motor)
เป็น มอเตอร์ที่หมุนได้ทันทีเมื่อมีการป้อนแรงดันที่เหมาะสม ทิศทางการหมุนจะขึ้นอยู่กับขั้วแรงดันที่ป้อน หากต้องการให้มอเตอร์หมุนกับทางก็เพียงแคร่กับขั้วของแหล่งจ่าย เท่านั้น มอเตอร์ก็จะเปลี่ยนทิศทางทันที มอเตอร์ชนิดนี้ทำงานเพียง 3 แบบ คือหมุนตามเข็มนาฬิกา หมุนทวนเข็มนาฬิกา และหยุดหมุน ซึ่งอัตราความเร็จที่หมุนขึ้นอยู่กับกระแสและแรงดันที่จ่ายให้มอเตอร์ ถ้าหากแรงบิดไม่เพียงพอสามารถทดรอบของการหมุนได้ มอเตอร์ต้องแรงดันไฟฟ้าในระดับต่างกัน ก่อนไปใช้ควรดูว่ามอเตอร์นี้ต้องการแรงเท่าไร
1.2. สเต็ปเปอร์มอเตอร์ (Stepper motor)
เป็นมอเตอร์ที่มีการหมุนเป็นสเต็ป สามารถกำหนดตำแหน่งการหมุนได้อย่างแม่นยำข้อดีของสเต็ปเปอร์มอเตอร์เมื่อเีทียบกับ DC มอเตอร์

1.สามารถควบตำแหน่งในการหมุนได้แม่นยำโดยอาศัยการนับจำนวนพัลล์ที่์ี่ส่งไป ควบคุมการหมุน

2.ไม่มีส่วนของแปรงถ่านที่จะสึกหรอและไม่เกิดการสปาร์คที่แปรงถ่านซึ่งอาจก่อ ให้เกิดสัญญานรบกวน

2. มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC:Alternating current Motor) หรือเอซี มอเตอร์
มอเตอร์ กระแสสลับเป็นมอเตอร์ที่ใช้กันแพร่หลายในอาคารบ้านเรือน หรือโรงงานอุตสาหกรรมเช่น เครื่องไฟฟ้าที่ต้องใช้แรงขับ จำพวกพัดลม แอร์ ตู้เย็น เครื่องดูดฝุ่น และอื่นๆ ซึ่งมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับยังสามารถแบ่งชนิดได้อีกดังนี้
2.1. มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับชนิด 1 เฟส จะใช้กับแรงดันไฟฟ้า 220 โวลต์มีสายไฟ เข้า 2 สาย มีแรงม้าไม่สูง ส่วนใหญ่ตามบ้านเรือน
2.2. มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับชนิด 3 เฟส เป็นมอเตอร์ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมต้องใช้ระบบไฟฟ้า 3 เฟส ใช้แรงดัน 380 โวลต์ มีสายไฟเข้ามอเตอร์ 3 สาย


แหล่งข้อมูล : http://www.t4rbm.ac.th/~electronichunsa/motor%20%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%86.html

สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 21/ 6/ 2558

มอเตอร์



  
    มอเตอร์
   
                  
                    

                             


                  มอเตอร์ไฟฟ้า ( electric motor) เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่แปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล

การทำงานปกติของมอเตอร์ไฟฟ้าส่วนใหญ่เกิดจากการทำงานร่วมกันระหว่างสนามแม่เหล็กของแม่เหล็กในตัวมอเตอร์ และสนามแม่เหล็กที่เกิดจากกระแสในขดลวดทำให้เกิดแรงดูดและแรงผลักของสนามแม่เหล็กทั้งสอง ในการใช้งานตัวอย่างเช่น ในอุตสาหกรรมการขนส่งใช้มอเตอร์ฉุดลาก เป็นต้น นอกจากนั้นแล้ว มอเตอร์ไฟฟ้ายังสามารถทำงานได้ถึงสองแบบ ได้แก่ การสร้างพลังงานกล และ การผลิตพลังงานไฟฟ้า(ในขณะเบรก)


มอเตอร์ไฟฟ้าถูกนำไปใช้งานที่หลากหลายเช่น พัดลมอุตสาหกรรม เครื่องเป่า ปั๊ม เครื่องมือเครื่องใช้ในครัวเรือน และดิสก์ไดรฟ์ มอเตอร์ไฟฟ้าสามารถขับเคลื่อนโดยแหล่งจ่ายไฟกระแสตรง (DC) เช่น จากแบตเตอรี่, ยานยนต์หรือวงจรเรียงกระแส หรือจากแหล่งจ่ายไฟกระแสสลับ (AC) เช่น จากไฟบ้าน อินเวอร์เตอร์ หรือ เครื่องปั่นไฟ มอเตอร์ขนาดเล็กอาจจะพบในนาฬิกาไฟฟ้า มอเตอร์ทั่วไปที่มีขนาดและคุณลักษณะมาตรฐานสูงจะให้พลังงานกลที่สะดวกสำหรับใช้ในอุตสาหกรรม มอเตอร์ไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดใช้สำหรับการใช้งานลากจูงเรือ และ การบีบอัดท่อส่งน้ำมันและปั้มป์สูบจัดเก็บน้ำมันซึ่งมีกำลังถึง 100 เมกะวัตต์ มอเตอร์ไฟฟ้าอาจจำแนกตามประเภทของแหล่งที่มาของพลังงานไฟฟ้าหรือตามโครงสร้างภายในหรือตามการใช้งานหรือตามการเคลื่อนไหวของเอาต์พุต และอื่น ๆ

อุปกรณ์   เช่น  ขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้าและลำโพงที่แปลงกระแสไฟฟ้าให้เป็นการเคลื่อนไหว แต่ไม่ได้สร้างพลังงานกลที่ใช้งานได้ จะเรียกถูกว่า actuator และ transducer ตามลำดับ คำว่ามอเตอร์ไฟฟ้านั้น ต้องใช้สร้างแรงเชิงเส้น(linear force) หรือ แรงบิด(torque) หรือเรียกอีกอย่างว่า หมุน (rotary) เท่านั้น
ภาพตัดขวางเพื่อแสดงสเตเตอร์ ของมอเตอร์เหนี่ยวนำ                       


สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 21/6/2558









วิธีทำลายเชื้อแบคทีเรียในฟองน้ำล้างจาน



                     

 วิธีทำลายเชื้อแบคทีเรียในฟองน้ำล้างจาน




                      วิธีลดหรือทำลายเชื้อแบคทีเรียในฟองน้ำล้างจานจะมีด้วยกันอยู่หลายวิธี โดยหลังจากที่เราใช้ฟองน้ำล้างทำความสะอาดภาชนะและอุปกรณ์ต่างๆ ในครัวเสร็จแล้ว สิ่งที่ต้องทำก็คือ

1. นำฟองน้ำไปล้างน้ำเปล่าให้สะอาดแล้วนำออกไปตากแดดจัด ตากทิ้งไว้อย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง วิธีนี้อาจจะไม่เห็นผลได้ 100% หากในวันที่ไม่มีแสงแดด

2. ควรหมั่นนำฟองน้ำไปต้มในน้ำเดือด เพื่อเป็นการฆ่าเชื้อ จากนั้นบีบฟองน้ำให้แห้งก่อนนำไปตากแดด

3. นำน้ำกรดน้ำส้มหรือน้ำส้มสายชู  ผสมกับน้ำเปล่าในสัดส่วนน้ำส้มสายชู 4 ช้อนโต๊ะต่อน้ำครึ่งลิตร แล้วนำฟองน้ำที่ใช้ล้างภาชนะในแต่ละวันไปแช่ทิ้งไว้ค้างคืน แล้วทำอย่างนี้ทุกวันแต่ควรเปลี่ยนน้ำส้มสายชูทุกครั้งก่อนการแช่ วิธีนี้ภาวะที่มีความเป็นกรดนั้นจะช่วยไปลดปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ให้อยู่ใน ระดับปลอดภัยแก่การบริโภคได้

               เมื่อเราทราบวิธีทำลายเชื้อแบคทีเรียในฟองน้ำล้างจานกันแล้ว แต่ทางที่ดีเราควรจัดสภาพของห้องครัวให้โปร่งอากาศถ่ายเท แลมีแสงลอดผ่านเข้ามาได้ และที่สำคัญควรแยกฟองน้ำสำหรับการใช้งานที่ต่างกัน เช่น ฟองน้ำล้างจาน ควรเป็นคนละแผ่นกับฟองน้ำเช็ดเคาน์เตอร์หรือตัวเตา และเมื่อสกปรกมากควรเปลี่ยนทันทีอย่าปล่อยทิ้งไว้จนเกิดเชื้อรา



สืบค้นข้อมูล เมื่อวันที่ 21 / 6 / 2558




วิธีการล้างภาชนะอย่างมีประสิทธิภาพ



 

                     วิธีการล้างภาชนะอย่างมีประสิทธิภาพ

การวางแผนที่ดีทำให้เราสามารถปฏิบัติงาน เป็นขั้นตอนตามที่กำหนดไว้ได้ ซึ่งนอกจากเราจะวางแผนได้แล้ว เรายังต้องเรียนรู้วิธีการปฏิบัติงานที่ถูกต้องด้วย เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ เช่น ในการล้างภาชนะมีขั้นตอนการทำงาน ดังนี้

1. ขั้นเตรียมการ

  • สำรวจสิ่งที่จะต้องล้างว่ามีไร บ้าง จำนวนมากน้อยเพียงใด แล้วรวบรวมสิ่งเหล่านั้น ถ้าภาชนะมีเศษอาหารเหลืออยู่ ไม่ควรนำมาวางซ้อนกัน เพราะจะทำให้ภาชนะใบที่ซ้อนสกปรกมากขึ้น
  • กวาดเศษอาหารลงในถุงขยะที่เตรียมไว้แล้วผูกปากถุงให้เรียบร้อย นำไปทิ้งในถังขยะหรือเราอาจนำเศษอาหารไปเป็นอาหารของสัตว์เลี้ยง
  • เมื่อกวาดเศษอาหารแล้ว หากพบว่าภาชนะที่จะล้างมีคราบสกปรกหรือมันมาก ให้ใช้กระดาษชำระเช็ดทำความสะอาดก่อน จะทำให้ล้างภาชนะได้งานขึ้น
  • จัด เรียวภาชนะประเภทต่างๆให้เรียบร้อย โดยเรียงจากขนาดใหญ่ไปหาเล็กแล้วนำไปไว้ตรงที่ล้าง ถ้าสิ่งที่จะต้องล้างมีจำนวนมาก ควรหากะละมังหรือภาชนะที่มีขนาดพอเหมาะมาใส่เพื่อให้ขนย้ายสิ่งเหล่านั้นไป ยังสถานที่ล้างได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น
  • คาดคะเนปริมาณน้ำที่ต้องการใช้ในการล้างภาชนะแต่ละขั้นตอน
  • คาดคะเนขนาดของภาชนะใส่น้ำให้พอเหมาะกับปริมาณน้ำและภาชนะที่จะล้าง
  • คิดถึงอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้สำหรับล้างภาชนะและสถานที่เก็บอุปกรณ์เหล่านั้น
  • จัดเตรียมอุปกรณ์โดยไม่ให้สิ้นเปลืองเวลาและแรงงาน
ใน การจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับล้างภาชนะ อันได้แก่ น้ำยาล้างจาน กะละมังและฟองน้ำสำหรับล้างภาชนะหากเราจัดเก็บไว้ที่เดียวกันก็สามารถหยิบมา ใช้ได้ทันที แต่หากเราเก็บไว้คนละที่ก็ต้องคำนวณว่าจะหยิบสิ่งเหล่านั้นอย่างไรให้เสีย เวลาและแรงงานให้น้อยที่สุด

2. ขั้นล้างภาชนะ

  • รองน้ำใส่กะละมังใบที่ 1 ให้มีปริมาณพอเหมาะกับจำนวนภาชนะที่จะล้าง
  • นำกะละมังใบที่ 2 มารองน้ำเตรียมไว้สำหรับผสมกับน้ำยาล้างจาน
  • ล้าง ภาชนะด้วยน้ำสะอาดในกะละมังใบที่ 1 โดยล้างภาชนะที่มีความสกปรกน้อยก่อน เช่น แก้วน้ำและช้อนส้อม เพื่อไม่ให้คราบน้ำมันและเศษอาหารติดแก้วน้ำ
  • เทน้ำในกะละมังใบที่ 1 ออก แล้วรอล้างด้วยน้ำยาล้างจาน
  • ผสมน้ำยาล้างจานลงในกะละมังใบที่2 ให้มีความเข้มข้นและปริมาณพอเหมาะกับจำนวนภาชนะที่จะล้าง
  • ล้างภาชนะในน้ำยาล้างจานที่ผสมไว้ทีละใบ โดยเริ่มต้นจากภาชนะที่มีความมันน้อย
  • นำกะละมังใบที่ 1 มาล้างน้ำยาล้างจาน
  • เมื่อล้างภาชนะต่างๆหมดแล้ว ให้ล้างกะละมังที่ใส่น้ำยาล้างจานนั้นด้วย
  • ในขณะที่ล้างภาชนะด้วยน้ำยาล้างจานให้รองน้ำใส่กะละมังใบที่ 3
  • ล้างกะละมังใบที่ 1 และ 2 ด้วยน้ำจนสะอาด นำกะละมังใบที่ 1 เก็ยไว้ ส่วนอีกใบหนึ่งนำมารองน้ำสำหรับล้างภาชนะครั้งที่ 2
  • นำภาชนะที่ล้างด้วยน้ำยาล้างจาน มาล้างด้วยน้ำสะอาดครั้งที่ 1 ในกะละมังใบที่ 3
  • เมื่อล้างน้ำคั้งที่ 1 เสร็จเทน้ำออก แล้วล้างกะละมังให้สะอาด รองน้ำที่เตรียมไว้ล้างภาชนะครั้งที่ 3
  • ล้างภาชนะด้วยน้ำสะอาดครั้งที่ 2 และ 3 ตามลำดับ จนหมดคราบลื่นของน้ำยาล้างจาน
  • นำน้ำที่เหลือจากการล้างภาชนะไปขัดทางเดิน ลานบ้าน หรือท่อระบายน้ำ

3. ขั้นจัดเก็บ

  • รวบรวมภาชนะทั้งหมดที่ล้างเรียนร้อยแล้วใส่ในภาชนะที่ช่วยให้ขนย้ายได้ง่ายประหยัดเวลาและแรงงาน เพื่อนำไปคว่ำบนที่คว่ำภาชนะ
  • คว่ำภาชนะให้เป็นระเบียบ เรียงจากขนาดใหญ่ไปหาขนาดเล็ก เพื่อให้สะดวกในการเก็บ
  • ภาชนะที่เป็นพลาสติก ควรพึ่งในที่ร่ม อย่าให้ถูกแดดมาก เพราะพลาสติกจะกรอบเร็ว
  • เมื่อล้างภาชนะแห้งแล้ว เช็ดด้วยผ้าสะอาดเพื่อกำจัดฝุ่นละอองที่อาจปลิวมาติดในขณะที่ผึ่งไว้
  • นำภาชนะไปเก็บเข้าตู้ โดยแยกประเภทและขนาดให้เรียบร้อย จะได้สะดวกต่อการหยิบใช้                              แหล่งข้อมูล : https://patchanee.wikispaces.com/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E                                   สืบค้าข้อมุลเมื่อวันที่ 21/6 /2558